How to Set up Multiple IP Addresses on a Computer
มีหลายวิธีที่จะตั้งค่า IP Address ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา แบบมากกว่าหนึ่ง IP Address บนเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องเดียว เช่น
1.ถ้าเครื่อง Computer มีการ์ดเชื่อมต่อเครือข่ายหลายๆอัน (NICs) ก็สามารถที่จะกำหนดค่า IP Address ลงไปแต่ละการ์ดได้เลย
2.ถ้าเครื่อง Computer มีการ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (NICs) อยู่อันเดียว ก็จะต้องใช้วีธี ตั้งค่า แบบมากกว่าหนึ่ง IP Address ลงใน การ์ด อันเดียว
3.ใช่อุปกรณ์เสริมที่เป็น Hardware แบบรวม หลาย IP Address ให้ออกมาแค่ หนึ่ง IP Address แล้วค่อยเอามาต่อเข้ากับเครื่อง Computer ที่มี การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (NICs) อยู่อันเดียว
ซึ่งโดยปรกติแล้ว การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (NICs) ที่มาจากโรงงานนั้น จะมี unique IP ประจำตัวอยู่แล้ว ซึ่งแต่ละการ์ดที่ผลิตออกมานั้น จะมีเลขประจำการ์ดม่ซ้ำกัน (Max Address)เพื่อใช้ในการระบุตัวตนของอุปกรณ์นั้นๆ แต่ในส่วนของ IP Address นั้น ในหนึ่ง การ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (NICs) นั้น สามารถกำหนดค่า IP Address ได้มากกว่าหนึ่ง หมายเลขอยุ่แล้ว และในบทความนี้ ทางผู้เขียน จะอิบายถึงขั้นตอนและวิธีการตั้งค่าการ์ดเชื่อมต่อเครือข่าย (NICs) ที่ติดตั้งอยุ่ในเครื่อง Computer ที่มีระบบปิบัติการ Windows 7 แบบ การ์ดเดียวให้มีมากกว่าหนึ่ง IP Address เพื่อที่จะได้นำไปประยุกต์ใช้กับระบบเครื่อข่าย Network ที่มีอุปกณ์ ที่ได้ถูกตั้ง IP Address แตกต่างกันไว้ เชื่อมต่ออยุ่ใน Network เดียวกันได้ โดยไม่ต้องมานั่งแก้ IP Address สลับไปมา หรือหาอุปกรณ์ใดมาต่อเสริมเข้าไป โดยสามารถทำได้ตามขันตอนดังต่อไปนี้
ให้เข้าไปที่ เมนูการตั้งค่าของเครื่อง Computer ที่ Control Panel>>All Control Panel Items>>Network and Sharing Center และใก้เลือกไปที่ Change Adapter Setting
เมื่อ เลือกเข้าไปสู่ เมนู Change Adapter Setting แล้ว ให้ทำการเลือก Network Card ตัวที่จะทำการตั้งค่า
จากนั้น ให้ทำการ Click Mouse ขวา แล้วเลือกไปที่ Propperties เพื่อจะเข้าสู่เมนูการตั้งค่าต่อไป
เมื่อทำการเลือก เข้าสู่ Propperties ไปแล้ว ให้ทำการเลือกไปที่ Internet Protocal Version 4 (IPV4) แล้วเลือกเข้าไปที่ Propperties ต่อไป
หลังจากเลือกเข้ามาแล้ว จะเจอกับรูปแบบการตั้งค่าแบบเดิมของ Network Card ซึ่งโดยทั่วไปจะถูกตั้งค่าไว้ที่ รูปแบบของการ รับค่า IP Address จาก DHCP Server อยู่แล้ว ซึ่งแบบนี้เราไม่สามารถที่จะทำการตั้งค่า IP Address เองตามที่เราต้องการได้
ขั้นต่อไปให้ทำการ เลือกการตั้งค่า จาก แบบ Optain an IP Address ไปที่ รูปแบบ Use the following IP Address เพื่อจะกำหนดค่า เข้าไปเองตามที่เราต้องการ แต่ต้องไม่ซ้ำกับ IP Address ที่มีอยู่ใน Network ที่เราจะเชื่อมต่อเข้าไป และให้กำหนดค่า IP Address และ Subnet mask ตามที่เราต้องการลงไป ในบทความนี้ จะตั้งเป็น
IP Address : 192.168.5.99
Subnet mask : 255.255.255.0
Gateway : 192.168.5.254 (ค่า Gateway ไม่จำเป็นต้องใส่ ถ้าไม่มีการเรียกใช้งาน DNS,Domain , หรือ ต้องการเชื่อมต่อ Internet )
Preferred DNS Server : 8.8.8.8 (ค่า DNS ไม่จำเป็นต้องใส่ ถ้าไม่มีการเรียกใช้งาน DNS,Domain หรือ ต้องการเชื่อมต่อ Internet ในที่นี้ ขอเลือกใช้ DNS ของ Google เห็นเขาว่ากันว่า มันมีดี)
หลังจากที่เราได้ทำการตั้งค่าในส่วนของ IP Address และค่าประกอบต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ เสร็จเรีบร้อยแล้ว ให้ทำการเลือก ต่อไปที่ Advanced เราจะเห็นค่า ต่างๆที่เราได้ทำการตั้งค่า ไปเมื่อขั้นตอนก่อนหน้านี้ (ซึ่งถ้าต้องการเพียงแค่ ตั้งค่า IP Address แบบ Manual ด้วยตัวเอง ก็จะจบการตั้งค่าเพียงแค่นี้ Network Card ก็สามารถสามารถใช้งานได้แล้ว)
แต่ในบทความนี้ เราต้องการที่จะตั้งค่า Network Card มากกว่าหนึ่ง IP Address ก็ต้องทำต่อ โดยให้เลือกไปในส่วนที่เป็น IP Address แล้วเลือกไปที่ Add เพื่อทำการเพิ่ม IP Address และ Subnet mask ชุดที่สอง ลงไป
ในบทความนี จะกำหนด IP Address สำหรับ Network Card อันเดิมของเรา ดังนี้
IP Address : 192.168.6.99
Subnet mask : 255.255.255.0
ซึ่งถ้าหากเราไม่ต้องการที่จะเรียกใช้งาน DNS,Domain , หรือ ต้องการเชื่อมต่อ Internet สำหรับ IP Address ในชุดที่สอง ก็จะจบการตั้งค่า Network Card เพียงแค่นี้ )
แต่ถ้าหาก เรามีความจำเป็นที่จะต้องใช้งาน DNS , Domain , Internet สำหรับชุด IP Address ในชุดที่สองนี้ ก็สามารถทำได้ตามขั้นตอนต่อไป
ในส่วนของ Gateways ชุดที่สอง ให้ตั้งค่าดังนี้
Gateway : 192.168.6.254 (ค่า Gateway ไม่จำเป็นต้องใส่ ถ้าไม่มีการเรียกใช้งาน DNS,Domain , หรือ ต้องการเชื่อมต่อ Internet )
หลังจากที่เราได้กำหนด ค่าของ IP Address .ให้กับ Network Card ชุดที่สอง เรียบร้อยแล้ว หากเรามี DNS ของชุดที่สอง ที่ต้องใช้งานคู่กับ IP Address อีก ให้ทำการ Add เพิ่มในส่วนตั้งค่าดังนี้ (ในบทความนี้ ขอจำลองเลข เป็น 9.9.9.9 )
Preferred DNS Server : 9.9.9.9 (ค่า DNS ไม่จำเป็นต้องใส่ ถ้าไม่มีการเรียกใช้งาน DNS,Domain หรือ ต้องการเชื่อมต่อ Internet)
เมื่อทำการตั้งค่าเสร็จแล้ว ให้กด OK ออกมา แล้วปิดในส่วนการตั้งค่าออกมา แล้วให้ทำการเชื่อมต่อ Network Card ของเราเข้ากับระบบ โดยให้ดูที่ เครื่องหมายการเชื่อมต่อ จะเปลี่ยนให้กากะบาทสีแดงจะหายไป หลังจากนั้นให้ทำการเลือกไปที่ Network Card ที่เราตั้งค่าอีกครั้ง โดยกด Click Mouse ขวา แล้วเลือกไปที่ Status เพื่อที่จะดู ค่าของ IP Address ที่เราได้ทำการตั้งค่าไว้ ในขันตอนก่อนหน้านี้
ให้ดูในส่วนของ การเชื่อมต่อ ที่ Media State : จะเปลี่ยนเป็น Enable และรายละเอียดการตั้งค่า IP Address ที่เราได้ทำการตั้งค่าไปก่อนหน้านี้ สามารถกดเข้าไปดูได้ที่ Detail
เราสามารถที่จะตรวจสอบการตั้งค่า ที่เราได้ทำไป จากหน้านี้ โดยเราจะเห็นได้ว่า ใน Network Card ของเรานั้นจะมีค่าของ Max Address อยู่เพียงค่าเดียว แต่เราสามารถที่จะกำหนด IP Address สำหรับการเชื่อมต่อ ให้มันได้ มากกว่าหนึ่ง โดยทำตามขันตอนก่อนหน้านี้ ได้อีก ไม่ว่าจะเป็น 4 หรือ 10 ค่า IP Address ได้
เพียงแค่นี้ เราก็ไม่ต้องไปใช้ อุปกรณ์ ทางด้าน Hardware หรือไปหา Network Card มาใส่ เพิ่มเติมให้กับ Computer ของเรา ในขณะที่เราจำเป็นต้องการใช้งานการเชื่อมต่อ Computer แบบมีหลาย IP Address ใน Network ของเรา แต่ก็ยังมีข้อจำกัด สำหรับงานที่ต้องมีการอ้างอิง Max Address จะไม่สามารถทำได้ เนื่อด้วยเหตุผลที่ได้กล่าวไปก่อนหน้านี้
...ขอให้ทุกท่านสนุกกับการใช้งานครับ...